Monthly Archives: April 2009

โลกออนไลน์แห่งปัญญา

“กรมการศาสนา” ร่วมกับ “บริษัทดิจิคราฟต์ จำกัด” (ประเทศไทย) และ “กลุ่มบริษัทบันลือ กรุ๊ป” ผลักดันโครงการนำร่อง “The Avatar โลกออนไลน์แห่งปัญญา โลกพุทธศาสนาเสมือนจริง” ผ่านเว็บไซต์พระพุทธศาสนาเสมือนจริงแห่งแรกของโลก www.khondee.org หวังปลุกกระแสเยาวชนไทยให้เข้าใกล้พระพุทธศาสนา รองรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของกลุ่มเยาวชนไทย

“สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการ The Avatar โลก ออนไลน์แห่งปัญญา โลกพุทธศาสนาเสมือนจริง ก่อตั้งขึ้นเพื่อต้องการให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้พระพุทธศาสนานอกเหนือจากใน ห้องเรียน เพราะเนื่องจากสภาพแวดล้อม สังคม ค่านิยมและวิถีการใช้ชีวิตของกลุ่มเยาวชนไทยที่เปลี่ยนไป จึงทำให้เยาวชนกลุ่มนี้ห่างไกลจากพระพุทธศาสนา จนมีผลกระทบให้ระดับจิตใจตกต่ำและลุกลามไปถึงวิถีการใช้ชีวิตเมื่อเติบโต ขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ทางกรมศาสนาเล็งเห็นถึงความสำคัญจุดนี้ จึงได้ร่วมมือกับทางบริษัทดิจิคราฟต์ จำกัด (ประเทศไทย) ผู้สร้างเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์สีขาวเช่น โครงการยู ทาวน์ (www.utown.in.th) ซี่งเป็นเว็บไซต์ชุมชนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก กลุ่มบริษัทบันลือ กรุ๊ป ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิตัล มาร่วมกันปลุกปั้นโครงการดังกล่าวเพื่อเยาวชนของชาติ และนอกจากนี้ ทางกรมการศาสนาได้มีแผนการพัฒนาโลกพระพุทธศาสนาเหมือนจริงในสถานที่อื่น ๆ ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนานอกเหนือจากประเทศไทยอีกด้วย” นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา กล่าว

“โครงการ The Avatar โลก ออนไลน์แห่งปัญญา โลกพุทธศาสนาเสมือนจริง เป็นความภูมิใจอย่างที่สุดของทางบริษัท ดิจิคราฟต์ จำกัด (ประเทศไทย) เนื่องจากทางบริษัทฯ ได้รับเกียรติจากกรมการศาสนาให้เข้ามาเป็นผู้พัฒนาโครงการนี้อย่างเป็นทาง การ ทั้งในเรื่องการพัฒนา ดูแล และควบคุมระบบ ตลอดจนการสรรหากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และเนื้อหาดี ๆ เพื่อ ให้เยาวชนไทยได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาผ่านการฟัง ธรรมะออนไลน์ การตอบคำถามและทดสอบความรู้ทางด้านธรรมะ แนะนำวิธีการนั่งสมาธิเบื้องต้น และแลกเปลี่ยนเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาระหว่างเยาวชนด้วยกันเอง และ อีกหนึ่งไฮไลท์ของโครงการนี้คือ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เรายังสามารถจำลองความงดงามทางวัฒนธรรมของศาสนาพุทธในประเทศไทย ให้เด็กและเยาวชนรวมไปถึงพุทธศาสนิกชนทุก ๆ คน ได้ซึมซับบรรยากาศเหล่านั้นได้แบบเสมือนจริงอีกด้วย ทางบริษัทฯ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะช่วยในการสร้างสรรค์สังคมคุณภาพบนโลกออ นไลน์ เป็นแหล่งชุมชนสีขาว และพัฒนาคุณภาพจิตใจของเยาวชนให้ดีขึ้น” ดร.วิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิคราฟต์ จำกัด (ประเทศไทย) กล่าว

“สำหรับกลุ่มบริษัทบันลือ กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายหนังสือและนิตยสารการ์ตูนคุณภาพรวมทั้งเป็นผู้ให้บริการ สื่อดิจิตัลอื่นๆ มีความยินดีในการร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ The Avatar โลกออนไลน์แห่งปัญญา โลกพุทธศาสนาเสมือนจริง เพื่อช่วยสร้างการรับรู้ให้กับโครงการนี้และเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้เยาวชนหันมาสนใจเรื่องราวของพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น ทั้ง นี้เป็นไปตามนโยบายของประธานกลุ่มบริษัทบันลือกรุ๊ป คุณวิธิต อุตสาหจิต ที่ต้องการสนับสนุนพระพุทธศาสนาโดยเริ่มจากโครงการนี้ และตามด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ของบริษัทที่จะออกในเร็ว ๆ นี้ด้วย” นางโชติกา อุตสาหจิต รองประธานกลุ่มบริษัทบันลือ กรุ๊ป กล่าว

สำหรับโครงการ The Avatar โลกออนไลน์แห่งปัญญา โลกพุทธศาสนาเสมือนจริงนี้เปิดใช้บริการแล้วผ่านเว็บไซต์ www.khondee.org และจะเริ่มขยายลูกเล่นอื่น ๆ ตามมาในเฟสต่อไปเพื่อรองรับกลุ่มเยาวชนไทยให้มาสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

ติดตามรายละเอียดและทดลองเข้าสู่โลกของ The Avatar ได้ที่ www.khondee.org

ใครเล่นแล้วมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ

จาก online-station.net


กระเบื้องเพ้นท์ลาย สร้างรายได้

นายวาริ วัฒนรุกข์

ธุรกิจกับงาน ศิลปะ ดูจะเป็นสิ่งที่เป็นเส้นขนานกันมาโดยตลอด แต่เมื่อไหร่ที่ทั้ง 2 เส้นได้มาบรรจบกับได้ บัดนั้นก็จะเกิดเป็นผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ที่มีการทำการตลาดควบคู่กันไปด้วย เช่นเดียวกับ “ชอ วอ แฮนดิคราฟท์” ของอดีตหนุ่มบริษัทโฆษณา ที่จับพลัดจับผลูเดินทางเข้าสู่งานเซรามิก จนกลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวมาจนถึงปัจจุบัน

จากคำชักชวนของเพื่อนให้ไปช่วยผลิตงานให้ที่ จ.ลำปาง ทำให้ นายวาริ วัฒนรุกข์ ผู้จัดการทั่วไป หจก.ชอ วอ แฮนดิคราฟท์ ได้รู้ขั้นตอนการผลิตเซรามิก จนได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ และรู้เทรนด์ของต่างชาติที่ในช่วงนั้นนิยมงานเพ้นท์รูปบนแผ่นกระเบื้อง จึงได้ลองกลับมาผลิตงานดังกล่าวกับเพื่อน พร้อมส่งเข้าประกวดจนได้ และได้รับรางวัลชนะเลิศ จากภาพเขียนรูปแวนโก๊ะ (Vincent Willem van Gogh) บนกระเบื้อง ประเภทเซรามิกสีบนเคลือบ

กระจกดีไซน์ โดยใช้กระเบื้องมาต่อๆ กันแล้วเพ้นท์ลาย

และเมื่อผลงานได้รับรางวัลจึงนำผลงานไปจัดแสดงที่แกลลอรี่ ซึ่งชาวต่างชาติ ก็ชื่นชอบผลงานและสั่งให้ผลิต โดยช่วงแรก (ปีพ.ศ.2539) ใช้เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 200,000 บาท และปีที่ 2 ของการผลิตงานต้องเพิ่มทุนเป็น 1.5 ล้านบาท เนื่องจากมีออเดอร์เพิ่มมากขึ้น

“ไอ เดียการนำแผ่นกระเบื้องมาต่อกัน แล้วเขียนลวดลายลงไป ถือว่าได้แนวคิดมาจากต่างชาติ ที่ต้องการหาภาพงานศิลปะแนวใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม และงานเพ้นท์ภาพบนแผ่นกระเบื้อง ที่ถือว่าเป็นงานแฮนด์เมด มีรูปแบบไม่ซ้ำใคร ส่วนลูกค้าญี่ปุ่นก็ชื่นชอบผลงานลักษณะนี้เช่นกัน โดยสั่งให้ทำสีบนแผ่นกระเบื้องให้ แต่เมื่อสินค้ามีตำหนิก็ถูกตีกลับ ทำให้ผมนำแผ่นกระเบื้องเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นเศษเล็กๆ เพื่อนำมาทำเป็นโมเสก ผสมผสานงานเพ้นท์ ก็สามารถขยายตลาดให้กับลูกค้าในประเทศเยอรมันนีได้อีกทางหนึ่ง ส่งผลให้ช่วงนั้นมียอดสั่งสินค้าประมาณ 300,000 บาท/เดือน”

กระจกโมเสก ลูกค้าชื่นชอบ

ต่อมาเมื่อปี 2540 ถือเป็นปีแห่งวิกฤตของผู้ประกอบการไทย แต่สำหรับสินค้าของนายวาริ ถือว่าไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเน้นการส่งออกเกือบ 100% ต่างชาติยังให้การตอบรับสินค้าเป็นอย่างดี รวมถึงชาวญี่ปุ่น ก็ได้นำอ่างล้างมือมาให้เพ้นท์ เป็นลวดลายตามต้องการอีกด้วย ซึ่งงานประเภทนี้หาคนทำยาก เนื่องจากรายละเอียดค่อนข้างเยอะ และต้องใช้เวลา ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงงานเหล่านั้น ซึ่งก็ถือว่าจุดขายหนึ่งของ ชอ วอ แฮนดิคราฟท์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

ลายไทยๆ ก็โดนใจต่างชาติ

สำหรับขั้นตอนการผลิตสำหรับนายวาริ แล้วถือว่าไม่ยากนัก เนื่องจากตนเองมีพื้นฐานจากการเรียนเพาะช่าง ที่ต้องเรียนงานด้านศิลปะเกือบทุกแขนง และหนึ่งในนั้นคืองานเซรามิก ที่ต้องเริ่มจากการเขียนลายตามต้องการ และนำไปเผาเพื่อให้สีที่เพ้นท์ซึมลงไปในแผ่นกระเบื้อง จนได้ผลงานที่โดนใจลูกค้าออกมา แต่ขั้นตอนที่ยากคือการจัดองค์ประกอบของภาพให้ตรงใจลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยความรู้ และศึกษาเทรนด์งานศิลปะอย่างสม่ำเสมอ

อ่างล้างหน้า ลูกค้าญี่ปุ่นก็นำมาให้เพ้นท์ลาย

ปัจจุบัน ชอ วอ แฮนดิคราฟท์ ได้หันมาทำตลาดในเมืองไทยเกือบ 100% เนื่องจากที่ผ่านมาภาคการส่งออกของไทยชะลอตัว ดังนั้นการทำตลาดในประเทศน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เน้น สินค้าประเภทของตกแต่งบ้าน ที่คนไทยหันมาใส่ใจในการนำงานศิลปะไปตกแต่งบ้านกันมากขึ้น ซึ่งสินค้าของ ชอ วอ แฮนดิคราฟท์ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ กระจกเพ้นท์ลายผสมงานโมเสก, ภาพแขวนโชว์ และการเพ้นท์ลายบนเครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น โดยเน้นผลิตตามออเดอร์ของลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ และผลิตเพื่อใช้ในการจัดแสดงงานเล็กน้อย เพื่อโปรโมทสินค้าให้ลูกค้าได้รู้จักงานประเภทนี้มากขึ้น โดยราคาจะเริ่มต้นที่ 35 – 100,000 บาท

นำไปตกแต่งบ้านก็สวยไปอีกแบบ

ส่วนลูกค้าจะเป็นกลุ่มของนักออกแบบตกแต่งภายใน และลูกค้าประจำที่มีกำลังซื้อสูง นำไปตกแต่งบ้าน หรือสั่งให้ผลิตผลงานตามความต้องการ ในสัดส่วนที่พอๆ กัน ซึ่งนายวาริ ไม่คิดจะมีหน้าร้าน เนื่องจากตนเองไม่ชอบงานด้านบริหาร จะถนัดงานด้านการผลิตมากกว่า ซึ่งตนขอเพียงให้มีออเดอร์จากลูกค้าประจำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็คิดว่าจะนำพาธุรกิจนี้ให้รอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันไปได้

ลวดลายเริ่มหันมาคนใจคนวัยทำงาน

**สนใจติดต่อ 08-4170-8822**
จากผู้จัดการ Online

Batman Arkham Asylum

“ไอดอส”ค่ายเกมอังกฤษที่เพิ่งมีข่าวการเข้าไปเทคโอเวอร์ของค่ายเกม ญี่ปุ่น “สแควร์ เอนิกซ์” ล่าสุดก็ออกมาแสดงความมั่นอกมั่นใจถึงผลงานเกมใหม่ที่ดึงเอาซูเปอร์ฮีโร่ มนุษย์ค้างคาว “แบทแมน”มาเป็นจุดขายกับเกม “Batman :Arkham Asylum”ว่าจะเป็นหนึ่งในเกมแห่งปี 2009 พร้อมเชื่อว่าจะเป็นเกมที่สร้างมาตรฐานใหม่สำหรับวิดีโอเกมที่ได้รับ ลิขสิทธิ์มาจากการ์ตูน

“Jon Brooke“ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของไอดอสกล่าวว่า พวกเขาคาดการณ์ว่า Batman :Arkham Asylum ไม่ใช่เพียงแค่เกมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในช่วงซัมเมอร์นี้ แต่มันจะเป็นหนึ่งเด็ดดวงแห่งปีด้วย บริษัทได้ขยายการโฆษณาเกมนี้ไปเป็นเวลา 4 เดือน ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ รวมไปถึงทางทีวีและโรงภาพยนตร์ด้วย

มันเกือบจะสมบูรณ์แบบเท่าที่พวกเราเคยมีมาเลยทีเดียว มันดูเจ๋ง งดงาม และมีเนื้อเรื่องที่สลับซับซ้อนให้เราได้กลับมาเล่นซ้ำๆได้ ” Brooke กล่าว

Batman :Arkham Asylum พัฒนาโดยทีม Rocksteady Studios กำหนดวางขาย 9 มิ.ย.นี้บนเครื่อง PS3,Xbox360 และ PC ก่อนหน้านี้พวกเขาเคยส่งเกม Urban Chaos: Riot Response วางขายเมื่อปี 2006

ข้อมูลจาก…
www.mcvuk.com

โดยผู้จัดการOnline

Playground ส่งรูปเข้า Hi5 ได้ทันที

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา “ผู้จัดการไซเบอร์” ได้พาคุณไปทัวร์งานไอทีใหญ่แห่งปี นั่นคือ งานคอมมาร์ต’09 ซัมเมอร์เซลล์ โดยมีการ “รายงานสด” ภาพบรรยากาศงานจากโทรศัพท์มือถือมายังเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม PG (Playground) เย็นวันศุกร์นี้จึงเป็นโอกาสเหมาะที่เราจะมาแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม PG ให้คุณทราบกันแบบเจาะลึก

PG หรือ Playground เป็นโปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ ที่เมื่อติดตั้งไปแล้ว คุณสามารถถ่ายรูปจากโปรแกรมนี้ แล้วส่งภาพที่ถ่ายได้ไปขึ้นแสดงยังเว็บไซต์ www.pg.in.th ได้ทันที โดยระบุตำแหน่งสถานที่ถ่ายบนแผนที่กูเกิลด้วย นอกจากจะเป็นโปรแกรมแจกฟรีแล้ว ยังไม่มีการจำกัดขนาด และพื้นที่เก็บภาพอีกด้วย ที่สำคัญพัฒนาโดยทีมงานคนไทย และใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกระบบ

อาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า PG ทำหน้าที่เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้คุณใช้ภาพเล่าเรื่องราวแต่ละวันแทนการเขียนบล็อกได้ (Mobile Blogging) เช่น ในวันหนึ่งๆ คุณไปพบเจอเหตุการณ์อะไร ไม่ต้องเขียนเล่าให้ยืดยาว แค่ถ่ายรูปแล้วส่งขึ้นมาที่เว็บก็จะถูกนำไปแสดงผลทันที ไม่เพียงแต่ที่เว็บไซต์ www.pg.in.th เท่านั้น คุณยังนำภาพที่ส่งเข้ามาไปโพสต่อยัง Hi5, Facebook, Multiply, Friendster, Picasa, twitter หรือบล็อกอื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย

เท่ากับว่า PG ได้ช่วยเพิ่มบทบาทให้กับมือถือในการเป็น “ของเล่นชิ้นใหม่” ที่ทำใช้เป็นเส้นทางลัดในการถ่ายโอนไฟล์ภาพจากมือถือไปยังเว็บไซต์ หมดยุคการต่อสายเคเบิล ส่งบลูทูธไปมาได้ทันที ส่วนเว็บไซต์ PG.in.th ก็เปรียบเสมือนเป็นสนามเด็กเล่นออนไลน์แหล่งใหม่ของวัยทีนได้พูดคุย และแสดงความเห็นต่อภาพแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ล้นทะลักเข้ามาในแต่ละวันนั่นเอง

ดูวิดีโอแนะนำการใช้งาน PG ที่นี่

3 ขั้นตอนลงมือส่งรูปจากมือถือเข้าเว็บ PG

1. สมัครสมาชิกที่นี่ (กรอกชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน อีเมล และเบอร์มือถือที่คุณใช้อยู่)

PG รองรับกับมือถือหลายแบรนด์หลายรุ่นด้วยกัน
2. ดาวน์โหลดโปรแกรมของ PG เข้ามาติดตั้งที่โทรศัพท์มือถือของคุณ (ดูรุ่นมือถือที่รองรับทั้งหมดได้ที่นี่) โดยระบบจะส่งเป็น SMS ในรูปแบบของลิงก์ให้คุณคลิกเข้าไปดาวน์โหลดอีกทีหนึ่ง

3. เปิดโปรแกรม PG จากมือถือขึ้นมา ถ่ายภาพ และกดส่ง ภาพก็จะมาปรากฎที่เว็บไซต์ของ PG โดยอัตโนมัติ คุณสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อดูภาพของคุณได้ทันที จากทางหน้าเว็บ หรือจากทางมือถือ โดยเข้าไปที่ http://m.pg.in.th

ภาพอยู่บนเว็บแล้ว? เอาไปทำอะไรสนุกๆ ได้บ้าง?

: เขียนบล็อก :

ที่เว็บไซต์ของ PG เองก็มีเมนูสำหรับให้คุณเขียนบล็อกได้ โดยที่จะมีปุ่มอยู่บนเครื่องมือการพิมพ์ข้อความเป็นโลโก้ PG อยู่ เมื่อกดที่ปุ่มนี้คุณก็สามารถเลือกภาพที่คุณส่งเข้ามา ประกอบการเขียนเรื่องราวในบล็อกได้

: ส่งขึ้นไปยัง Hi5 :

คุณสามารถเลือกให้ทุกภาพที่คุณส่งจากมือถือด้วยโปรแกรม PG ไปแสดงที่เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมแบบออนไลน์อย่าง Hi5, Facebook, Multiply, Friendster, Picasa, twitter ได้โดยการเข้าไปตั้งค่าที่เมนู Settings > เชื่อมต่อกับเว็บอื่นๆ > กดปุ่ม “เพิ่ม” > เลือกเว็บต่างๆ ที่คุณเป็นสมาชิกไว้ก่อนหน้านี้ > กรอกชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่านของเว็บนั้น > ติ๊กถูกที่ช่อง ส่งรูปมาที่เว็บนี้ด้วย(อัตโนมัติ) > กดปุ่ม “เพิ่ม”

นอกจากนี้แล้วคุณยังสามารถเลือกชื่อที่อยู่หน้าเว็บส่วนตัวของคุณเองได้ เช่น http://mgrcyber.pg.in.th เพื่อความสะดวกในการส่งต่อไปให้เพื่อนๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกชื่อเองได้ที่เมนู Settings > เมนู “ทั่วไป”

: ปรับแต่งพิกัดของภาพบนแผนที่ออนไลน์ :

โดยปกติแล้ว หากคุณใช้ระบบดีแทค ภาพทุกภาพที่คุณถ่ายจะมีการระบุตำแหน่งของภาพบนแผนที่ออนไลน์ของกูเกิลให้ โดยอัตโนมัติ เพราะตัวโปรแกรมจะดึงตำแหน่งจากสถานีฐานของโทรศัพท์ที่ใกล้ที่สุด (Cellsites) และจะนำมาแสดงผลบนเว็บ PG โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าหากเครื่องของคุณไม่ได้เป็นระบบดีแทค แต่มี GPS ก็จะมีการแสดงตำแหน่งภาพให้เช่นกัน (ถ้ามือถือระบบอื่นไม่มี GPS ก็จะไม่ได้แสดงแผนที่)

อย่างไรก็ดี คุณยังสามารถเลือกแก้ไขหมุดที่ปักลงไปในแต่ละจุดบนแผนที่ได้ด้วยตัวเองเพื่อ ความแม่นยำ และตรงกับความเป็นจริงที่สุดได้ โดยคลิกที่ปุ่ม “แก้ไขสถานที่” ด้านล่างของแต่ละภาพ แล้วเลื่อนไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการ หรือจะค้นหาตามชื่อสถานที่ก็ได้

นอกจากนี้คุณไม่ต้องห่วงว่า ถ้าภาพที่คุณส่งมาจากมือถือจะกลายเป็นภาพตะแคง หรือ กลับหัว เพราะในทุกๆ ภาพที่แสดงขึ้นเว็บ จะมีปุ่มกลับภาพ หมุนซ้าย ขวา (อยู่มุมบนขวาของภาพ) เพื่อปรับให้ภาพออกมาดูได้ปกติอีกด้วย

ที่ PG มีเพื่อนและแก๊งค์เต็มไปหมด มีแล้วดีอย่างไร?

เช่นเดียวกับกระแสการทำเว็บที่ต้องการผันตัวเองจากเว็บไซต์ทั่วไปให้ กลายเป็นเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมแบบออนไลน์ (Social Networking Site) ที่ทุกคนมีตัวตน และถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน พูดคุยกันผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์นี้

จึงไม่น่าแปลกใจว่า PG ได้มีการจัดกลุ่ม (Group) สำหรับผู้ที่มีความชอบเหมือนๆ กัน เช่น กลุ่มคนรักภาพยนตร์ กลุ่มคนใช้โทรศัพท์มือถือโนเกีย 5800 ที่กำลังดังอยู่ในเวลานี้ รวมไปถึงกลุ่ม Amazing Chiang Mai ซึ่งทุกคนสามารถนำภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมาแบ่งปันกันได้ที่นี่ ซึ่งผู้ใช้ทุกๆ คนถ้าสนใจกลุ่มใดๆ ก็จะสามารถคลิกปุ่ม “เข้าร่วมกลุ่ม” ได้ทันที หรือจะสร้างกลุ่มของตนเอง เพื่อหาแนวร่วมก็สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม “สร้างกลุ่มใหม่” เป็นต้น

ขณะนี้มีสมาชิกเว็บไซต์ PG กว่าแสนราย! ที่มีการส่งรูปจากมือถือโดยเฉลี่ยกว่า 1000 รูป! ต่อวัน
ที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่สมาชิกทุกคนในเว็บไซต์ PG ที่นอกเหนือจากจะส่งข้อความแสดงความเห็นในแต่ละรูปของผู้ใช้คนอื่นๆ แล้ว ยังสามารถส่งข้อความหาผู้ใช้แต่ละคนได้อีกด้วย ซึ่งการส่งนั้นมีทั้งส่งผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ชื่อว่า “ส่งข้อความส่วนตัว” และ “ส่ง SMS” โดยอย่างหลังนี้เอง ทำให้ผู้ใช้หลายคนใช้เป็นช่องทางในการส่งข้อความ SMS หาเบอร์มือถือของกันและกันได้ฟรี สมาชิกหนึ่งคน สามารถส่งข้อความหาเพื่อนสมาชิกได้ทุกคน คนละ 1 ครั้ง ต่อ 1 วัน ไม่เกิน 144 ตัวอักษร (เฉพาะเครือข่ายดีแทค) ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตจะต้องมีการจ่ายเงินเพื่อใช้แพคเกจเฉพาะสำหรับการส่ง SMS จาก PG ข้ามหาเครือข่ายอื่นได้ ส่วนการส่งข้อความส่วนตัวเหมือนการส่งอีเมล โดยจะไปขึ้นที่กล่องข้อความหลังจากผู้ใช้คนนั้นเข้าสู่ระบบ

ข้อดี

1. ส่งภาพจากมือถือเข้าเว็บทันที (Realtime) พร้อมระบุพิกัดตำแหน่งของรูปได้

2. ไม่ต้องเสียค่าลงโปรแกรม ไม่มีค่าบริการใช้งานรายเดือน และให้พื้นที่เก็บภาพได้โดยไม่จำกัดขนาด และจำนวนรูป

3. สามารถใช้งานได้ทั้งทางเว็บ (www.pg.in.th) และทางแว็บไซต์ (m.pg.in.th)

4. มีฟีเจอร์ให้ส่ง SMS หากันฟรี

ข้อเสีย

1. ไม่มีโปรแกรมตกแต่งรูปภาพหลังจากที่ภาพขึ้นไปบนเว็บแล้ว (ดังเช่นที่เคยมีในเว็บ 2pad ที่เรารีวิวไปก่อนหน้านี้)

2. ต้องถ่ายรูปเดี๋ยวนั้นแล้วอัปขึ้นไปเลย ไม่สามารถเลือกรูปที่อยู่ในเครื่องเพื่ออัปขึ้นไปได้ (แต่ถ้าต้องการเอารูปที่อยู่ในเครื่องขึ้นเว็บ ก็สามารถส่งเป็น MMS มาที่หมายเลข 7272 ครั้งละ 2 บาท เฉพาะเครือข่ายดีแทค)

3. ยังไม่สามารถซูมภาพขณะถ่ายภาพจากโปรแกรม PG ได้

4. ยังไม่สามารถถ่ายวิดีโอได้ (ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาฟีเจอร์นี้)


เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ PG

PG เป็นบริการที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นไทยด้วยจำนวนผู้ใช้ กว่า 110,000 คน และมีภาพที่ส่งจากมือถือเข้ามายังเว็บไซต์แล้วถึง 230,000 ภาพ หลังจากการเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโปรแกรมที่คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ครีเอ้ จำกัด (บริษัทในเครือของดีแทค) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักพัฒนาโปรแกรมที่มีประสบการณ์ในการเขียน โปรแกรมมาอย่างยาวนาน ที่ผ่านมาครีเอ้ได้พัฒนาโปรแกรมออกสู่ตลาด และประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง เช่น โปรแกรม SmartChat ซึ่งเป็นสำหรับนักแชตที่สามารถเล่น MSN บนมือถือได้ และโปรแกรม PushMail ที่จะส่งเมล์มาเตือนทุกครั้งที่ได้รับอีเมลใหม่ๆ

โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จ PG ก็คือ 3 ซีอีโอหนุ่มได้แก่ คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ คุณไพโรจน์ บัวเผื่อน และคุณวรากร คุณาวงศ์

ถึงแม้ที่ผ่านมาทาง CBiZ Webware Review จะมีโอกาสรีวิวผลงานของคนไทยเพียงแค่ครั้งเดียวกับ อับดุล และ บักหำเลขา MSN แต่ครั้งนี้ PG ได้โชว์ผลงานชิ้นโบว์แดง ที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนไทย และใช้ประโยชน์ได้จริง ผู้เขียนคิดว่าศักยภาพการพัฒนาของ PG ยังมีอีกมาก สอดรับกับเทรนด์ยุคแห่งเว็บ 2.0 ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนมีส่วนในการสร้าง และแบ่งปันเนื้อหาได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ร่วมสร้างให้สนามเด็กเล่นนี้เป็นสนามเด็กเล่นทรงคุณภาพและเป็นมิตร เพื่อสังคมออนไลน์แห่งสยามประเทศที่สนุกสนานและอบอุ่นมากกว่าเดิมด้วยกัน

จากผู้จัดการ Online

Gmail พร้อมใช้49ภาษา

กูเกิลพัฒนา Gmail Labs พร้อมใช้งานแล้ว 49 ภาษาทั่วโลก เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นบริการฟรีอีเมลของกูเกิล

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด – ประเทศไทย ของกูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กูเกิลนำเสนอฟีเจอร์ขั้นทดลองแก่ผู้ใช้ทั่วโลกในโอกาสฉลอง Gmail ครบรอบ 5 ปี โดยการพัฒนา Gmail Labs พร้อมใช้งานแล้วใน 49 ภาษาทั่วโลก เพื่อให้ Gmail Labs เป็นพื้นที่สำหรับทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นบริการฟรีอีเมลของกูเกิล

Gmail Labs นำเสนอเครื่องมือที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงและปรับ แต่งกล่องจดหมายตามความต้องการของผู้ใช้ Gmail Labs เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 โดยนำเสนอ 43 ฟีเจอร์ใน 43 สัปดาห์ และปัจจุบันฟีเจอร์ส่วนใหญ่พร้อมใช้งานทั่วโลกเป็นภาษาท้องถิ่น รวมถึงภาษาไทย ผู้ใช้จะสามารถเปิดและปิดการใช้งานฟีเจอร์ Gmail Labs ได้ง่าย ด้วยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ตัวอย่างฟีเจอร์ของ Gmail Labs ได้แก่

1.ออฟไลน์ จีเมล (Offline Gmail) – เข้าถึงอีเมลของคุณและเขียนอีเมลแม้กระทั่งในช่วงเวลาที่คุณไม่สามารถเชื่อม ต่ออินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อคุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงที่คุณกระทำก็จะถูกซิงโครไนซ์เข้ากับระบบ

2.ยกเลิกการส่ง (Undo Send) – เพิกถอนการส่งอีเมลหลังจากที่คลิกส่งไปแล้วไม่เกิน 5 วินาที

3.เมาไม่ส่ง (Mail Goggles) – ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เครื่องมือนี้จะอนุญาตให้คุณส่งอีเมลได้ในเฉพาะกรณีที่คุณสามารถตอบโจทย์เลข ง่ายๆ ได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นคุณก็ควรจะเข้านอนเสียก่อน แล้วค่อยกลับมาตอบโจทย์อีกครั้งในตอนเช้า

4.เครื่องตรวจจับการลืมไฟล์แนบ (Forgotten Attachment Reminder) – ป้องกันไม่ให้คุณเผลอส่งข้อความโดยไม่ได้แนบไฟล์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนปรากฏขึ้นหากคุณเอ่ยถึงไฟล์แนบไว้ในอีเมล แต่คุณยังไม่ได้แนบไฟล์ใดๆ

5.Tasks – เพิ่มรายการสิ่งที่ต้องทำไว้ในกล่องจดหมายของคุณ โดยคุณจะสามารถสร้างรายการงานด้วยตนเอง หรือสร้างจากอีเมลโดยตรง และแก้ไขรายการจากโทรศัพท์ของคุณในขณะที่คุณกำลังเดินทาง

การเปิดตัว Gmail Labs ทั่วโลกในช่วงเวลาที่ Gmail ครบรอบ 5 ปี เป็นการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องใน Gmail Labs ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงพัฒนาการของ Gmail ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสร้างโปรแกรมอีเมลที่แปลกใหม่และใช้งานง่าย สำหรับผู้ใช้

“หาก มองย้อนกลับไปในอดีตขณะเมื่ออีเมลยังคงผูกติดอยู่กับระบบเดสก์ทอป เราจะพบว่าตอนนั้นอีเมลมีข้อจำกัดอย่างมากทั้งในเรื่องของพื้นที่เก็บข้อมูล และประโยชน์ใช้สอย เนื่องจาก Gmail ทำงานบนระบบ Cloud ที่แปลว่าเมฆในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว และนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ ภาษาใหม่ๆ สำหรับ Gmail Lab ได้แก่ เบงกาลี บัลแกเรีย คาตาลัน จีน (ดั้งเดิม, ประยุกต์) โครเอเชีย เช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เยอรมัน กรีก คุชราต ฮินดี ฮังกาเรียน ไอซ์แลนด์ อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น คันนาดา เกาหลี ลัตเวีย ลิธัวเนีย มาเลย์ มาลายาลัม มาราธี นอร์เวย์ โอริยะ โปแลนด์ โปรตุเกส (บราซิล, โปรตุเกส) โรมาเนีย รัสเซีย เซอร์เบีย สโลวัก สโลเวเนีย สเปน สวีเดน ตากาล็อก ทมิฬ เตลูกู ไทย ตุรกี ยูเครน และเวียดนาม

ห้องสมุดดิจิตอลโลกยูเอ็น

ห้องสมุดดิจิตอลโลกหรือ World Digital Library เปิดตัวแล้วอย่างเป็นทางการที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก (UNESCO) ที่กรุงปารีส เปิดกว้างให้ประชากรโลกสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้หลากรู้แบบทั้งหนังสือ แผนที่ เมนูสคริปต์ ภาพยนตร์ และรูปภาพได้ฟรีไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่มุมไหนบนโลกกลมๆใบนี้


นี่คือห้องสมุดดิจิตอลเสรีขนาดใหญ่แห่งที่ 3 แล้วนับตั้งแต่โลกได้รู้จักบริการสแกนหนังสือเพื่อการค้นหาของกูเกิล Google Book Search และโครงการองค์ความรู้ออนไลน์ของสหภาพยุโรป (EU) นาม Europeana สำหรับโครงการห้องสมุดดิจิตอลโลกที่เปิดให้บริการในนามสหประชาชาตินี้เปิด ให้บริการที่ wdl.org ให้ประชากรโลกได้เข้าชมภาพวาดและข้อมูลวัตถุโบราณของจีน ศิลปะเปอร์เซีย ไปจนถึงหลักฐานประวัติศาสตร์จากภาพถ่ายในพื้นที่ลาตินอเมริกาโดยไม่เสียค่า ใช้จ่ายใดๆ

โครงการนี้มีเจมส์ บิลลิงตัน (James Billington) บรรณารักษ์ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน และโคอิชิโร มัตซุอุระ (Koichiro Matsuura) ผู้อำนวยการทั่วไปยูเนสโกดำเนินงานร่วมกัน บนจุดประสงค์เพื่อให้ประชากรโลกเข้าถึงข้อมูลจากห้องสมุดและแหล่งข้อมูลทั่ว โลกได้อย่างทั่วถึง เน้นการเผยแพร่ข้อมูลซีกโลกตะวันออก เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างสองวัฒนธรรมที่ดีขึ้น และช่วยให้คณาจารย์ทั่วโลกมีแหล่งค้นหาข้อมูลการสอนใหม่ๆที่ถูกต้องและครบ ถ้วน


ผู้ที่รับหน้าที่ให้บริการโครงการนี้คือองค์การวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการศึกษาของสหประชาชาติหรือ UN Educational, Scientific and Cultural Organization ร่วมกับสถาบันพันธมิตรอีกกว่า 32 แห่ง ผู้พัฒนาคอนเทนท์ภายในคือห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯหรือ US Library of Congress ห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ เริ่มทดสอบโครงการตั้งแต่ปี 2007 หรือ 2 ปีที่แล้ว ให้บริการ 7 ภาษาหลักของโลก ได้แก่ ภาษาอาหรับ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส รัสเซีย และภาษาสเปน โดยมีข้อมูลทางวัฒนธรรมเพิ่มเติมในภาษาอื่นจาก 19 สถาบันวัฒนธรรมและห้องสมุดทั่วโลกด้วย เช่น สถาบันจากประเทศบราซิล อังกฤษ จีน อียิปต์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา

รายงาน ระบุว่าข้อมูลที่ worlddigitallibrary.org ได้จากสถาบันเหล่านี้ไม่ใช่ข้อมูลพิเศษที่สถาบันมอบให้กับ worlddigitallibrary.org รายเดียว แต่ก็เป็นข้อมูลที่มีความละเอียดเหมาะแก่การค้นคว้าของผู้เชี่ยวชาญ โดยคณะทำงานตั้งความหวังว่าจะขยายเขตความร่วมมือให้ครอบคลุม 60 ประเทศในปีนี้ เช่นสถาบันในโมร็อคโค ยูกันดา แมกซีโก และสโลวาเกีย ที่ได้ตกลงเซ็นเอ็มโอยูในการทำงานร่วมกันในโครงการนี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถือว่าแจ้งเกิดช้าเนื่องจากบริษัทเอกชนอย่างกูเกิลได้เปิดตัว บริการค้นหาหนังสือออนไลน์ลักษณะคล้ายกับห้องสมุดโลกแล้วในชื่อ Google Book Search ตั้งแต่ปี 2004 มีการสแกนหนังสือกว่า 7 ล้านเล่มและอัปโหลดขึ้นไปเก็บไว้ใน books.google.com บนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ แต่แล้วกูเกิลก็ต้องปวดหัวกับปัญหาลิขสิทธิ์หนังสือทั้งจากผู้เขียนและสำนัก พิมพ์ของสหรัฐฯเอง กระทั่งต้องเสียเงินยอมความไปกว่า 125 ล้านเหรียญและดำเนินการเจรจาเพื่อยุติปัญหาที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี

สรุปผลการเจรจาของกูเกิลและเจ้าของลิขสิทธิ์หนังสือที่เกิดขึ้นใน เดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าหนังสือที่เป็นสมบัติสาธารณะ จะเปิดให้ผู้ใช้กูเกิลดาวน์โหลดหนังสือได้ทั้งเล่ม ขณะที่หนังสือสงวนลิขสิทธิ์จะเปิดให้ผู้ใช้ชมฟรีได้ 20 เปอร์เซ็นต์ของหนังสือ ซึ่งหากต้องการใช้เพิ่มเติมจะต้องชำระเงินให้เจ้าของลิขสิทธิ์ วิธีการนี้เป็นที่พอใจของสำนักพิมพ์และผู้แต่งหนังสือเนื่องจากสามารถหาราย ได้ทั้งในแง่การขายและการโฆษณา

ปลายปี 2006 ยักษ์ใหญ่ซอฟต์แวร์อย่างไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมาเปิดตัวโครงการห้องสมุดเช่นกัน แต่กลับประกาศยกเลิกโครงการไปใน 18 เดือนถัดมาทั้งที่ได้สแกนหนังสือไปแล้วกว่า 750,000 เล่มซึ่งแปลว่าไมโครซอฟท์ยอมถอยทัพให้กูเกิลแต่โดยดี

โครงการสาธารณะที่ถือว่าเป็นทางเลือกอื่นนอกจาก Google Books คือโครงการห้องสมุดดิจิตอลของสหภาพยุโรปนาม Europeana ให้บริการที่ www.europeana.eu มีกำหนดการทดสอบบริการถึงปี 2010 ปัจจุบันมีผู้ชมราว 40,000 คนต่อวัน เปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงสื่อสาธารณะ 4.6 ล้านชิ้น เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ ภาพวาด ภาพถ่าย เสียง แผนที่ เมนูสคริปต์ และหนังสือพิมพ์เก่าซึ่งถูกเก็บในนานาห้องสมุดของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป คาดว่าจะมีสื่อสาธารณะถูกสแกนและอัปโหลดเพิ่มเป็น 10 ล้านชิ้นในปี 2010

จากผู้จัดการ Online

สามเหลี่ยมด้านไม่เท่าทำให้นักคณิตฝรั่งเศสคว้า “อาเบลไพรซ์”

นักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส เจ้าของผลงานแตกความรู้จากสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า สู่การพัฒนาแห่งศาสตร์ “เรขาคณิต” และนำไปต่อยอดในอีกหลายศาสตร์ คว้ารางวัล “อาเบลไพรซ์” สุดยอดรางวัลทรงเกียรติแห่งวงการคณิตศาสตร์ รับเงินรางวัล 33 ล้านบาทUS-NORWAY-MATHEMATICS-PRIZE

นักคณิตศาสตร์รัสเซียสัญชาติฝรั่งเศส “มิคาอิล โกรมอฟ” (Mikhail Gromov) ได้รับ “อาเบลไพรซ์” (Abel Prize) รางวัลอันทรงเกียรติ สำหรับวงการคณิตศาสตร์ระดับโลก จากประเทศนอร์เวย์ ด้วยผลทางด้านเรขาคณิต ที่มีผลกระทบต่อ คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแขนงต่างๆ ของวิทยาศาสตร์นับตั้งแต่ฟิสิกส์จนถึงชีววิทยา

US-NORWAY-MATHEMATICS-PRIZE

“โกรมอฟได้สร้างผลงานที่ลุ่มลึกและเป็นต้นแบบ ผ่านสายงานของเขา อีกทั้งยังมีแนวคิดที่สร้างสรรค์” สำนักข่าวเอเอฟพีระบุคำแถลงของ คณะกรรมการรางวัลอาเบลไพรซ์ ซึ่งชี้โกรมอฟมีความพยายามในการเข้าถึงหัวข้อใหม่ๆ และคิดถึงความใหม่ๆ อยู่เป็นนิจ เพื่อหาหนทางแก้ปัญหาเก่าๆ อีกทั้งผลงานของเขายังเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการค้นพบทางคณิตศาสตร์อีกมากมายในอนาคต
US-NORWAY-MATHEMATICS-PRIZE
คณะกรรมการยกย่องว่า สิ่งที่โกรมอฟสร้างขึ้นนั้น เป็น “ผลงานการปฏิวัติสาขาเรขาคณิต”

ปัจจุบันโกรมอฟเป็นนักวิชาการในสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Institut des Hautes Études Scientifiques : IHES) ในเมืองบูเรอส์ ซูร์ อีแวตต์ ใกล้กรุงปารีส แต่ช่วงเวลาที่ประกาศข่าวดีดังกล่าว เขากลับพลาดการรับฟังถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการ ซึ่งเขาบอกกับเอเอฟพีว่า ตอนนั้นเขาอยู่ระหว่างเตรียมการสอน อีกทั้งโทรศัพท์ก็ปิดอยู่ ทำให้กว่าจะทราบข่าวก็เมื่อกลับถึงอพาร์ตเม็นต์แล้ว

US-NORWAY-MATHEMATICS-PRIZE

เมื่อได้รับข่าวดีในชีวิตของนักวิชาการ เพื่อนร่วมงานและนักศึกษาที่สถาบันคณิตศาสตร์คูแรนต์ (Courant Institute of Mathematical Sciences : NYU) ในเมืองนิวยอร์กซิตี้ สถาบันอีกแห่งที่เขาสังกัดอยู่ ซึ่งเขากำลังสอนอยู่ในปัจจุบัน ได้ร่วมกันเปิดแชมเปญฉลอง

นักคณิตศาสตร์วัย 65 ในชุดเสื้อเชิ้ตเรียบๆ กับกางเกงที่สวมจนเก่า พร้อมรองเท้าราคาถูก ผู้ได้รับรางวัลอันสูงสุดแห่งวงการหมาดๆ อธิบายถึงผลงานของเขาเองว่า เป็นผลงานที่มีทั้งความคลุมเครือและชัดเจนพร้อมๆ กัน552000004027306

นอกจากนี้ ในไซน์นาว (ScienceNow) ได้รายงานว่า โกรมอฟได้รับยกย่องว่าเป็นผู้สร้างความก้าวหน้าให้แก่เรขาคณิตแบบซิมเพลคติก (symplectic geometry) และ แบบไรม์มาเนียน (Riemannian geometry) หรือ เรขาคณิตหลายมิติ ซึ่งเชื่อมโยงกับฟิสิกส์คณิตศาสตร์ เช่น สัมพันธภาพ และทฤษฎีสตริง

อีกทั้ง เขายังได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้สร้างการศึกษายุคใหม่ของทฤษฎีกลุ่มทางเรขาคณิต ซึ่งได้ใส่แนวคิดเรื่องระยะห่างและเส้นโค้ง เข้าไปร่วมศึกษาในโครงสร้างของพีชคณิตที่มีขอบเขต

ผลงานของโกรมอฟ มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อการศึกษาเรขาคณิตและเข้าถึงการประยุกต์หลักในการวิเคราะห์ รวมทั้งยังมีผลต่อพีชคณิตอีกด้วย ซึ่งประธานสมาคมคณิตศาสตร์อเมริกาได้ออกปากว่า “เราไม่สามารถจินตนาการได้เลยว่า ผลงานของเขามีคุณค่ามากมายขนาดไหน”

เมื่อช่วงศตวรรษที่ 1980 โกรมอฟได้แสดงวิธีจัดการกับกลุ่มของเรขาคณิตแบบไรม์มาเนียนให้เป็นปริภูมิเรขาคณิต (geometric space) ซึ่งแต่ละจุดในเมตาสเปซ (meta-space) คือเมทริกซ์แบบไรม์มาเนียน (Riemannian metric) ซึ่งระยะทางระหว่างเมทริกซ์ประเมินได้จาก “ความเหมือน” หรือ “ความต่าง” อันสอดคล้องกับปริภูมิแบบไรม์มาเนียนว่าเป็นอย่างไร
US-NORWAY-MATHEMATICS-PRIZE
สาระทั้งหมดในปริภูมิเมทริกซ์นั้นเติบโตจากการสังเกตอย่างง่ายๆ ในเรขาคณิตที่เรียกว่า “อสมการสามเหลี่ยม” (triangle inequality) ซึ่งกล่าวว่า ความยาวของด้านหนึ่งด้านใดของสามเหลี่ยมจะสั้นกว่าผลบวกของความยาวอีก 2 ด้านที่เหลือเสมอ (a+b>c ดังภาพประกอบ) โดยในทฤษฎีกลุ่ม (group theory) นั้น งานของโกรมอฟทางด้านเมทริกซ์ได้นำไปสู่การศึกษากลุ่ม “ไฮเปอร์โบลิค” (hyperbolic) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับเรขาคณิตเชิงไฮเปอร์โบลานอกแบบยูคลิด (non-Euclidean hyperbolic geometry)

“น่าเหลือเชื่อมากๆ ว่า มิกาอิล โกรมอฟ สามารถทำได้เพียงแค่ใช้สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า” เดนนิส ซัลลิวัน (Dennis Sullivan) จากมหาวิทยาลัยเมืองแห่งนิวยอร์ก (City University of New York) สหรัฐฯ กล่าวอย่างชื่นชม

ส่วนทางด้าน ฌอง-ปิแยร์ บูร์กวิยง (Jean-Pierre Bourguignon) ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในเมืองบูเรอส์ ซูร์ อีแวตต์ กล่าวว่า “แรงผลักดัน” ของโกรมอฟได้ทำให้เกิดความเชื่อมโยงที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนขึ้นภายในสถาบัน ระหว่างศาสตร์ทางด้านคณิตศาสตร์และชีววิทยา

อย่างรายงานทางวิชาการที่โกรมอฟร่วมมือกับอเลสซองดรา การ์บอง (Alessandra Carbone) จากมหาวิทยาลัยปิแยร์และมารี คูรี (Universite Pierre et Marie Curie) ในปารีส ฝรั่งเศส เมื่อปี 2544 นั้น เขาได้พิสูจน์ทฤษฎีจำลองความแน่นอนของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในน้ำจากสระ

บูร์กวิยงอธิบายถึงตัวอย่างผลงานของโกรมอฟว่า ภายในกรอบการทำงานเชิงคณิตศาสตร์นั้นได้กำหนดเงื่อนไขที่สุ่มจากการจัดเรียงของสารเคมีที่กำหนดการมีชีวิต พวกเขาได้พบว่า “สภาพมีชีวิต” มีจำนวนมากกว่า “สภาพตายแล้ว” อย่างมากมายมหาศาล

“การตัดสินใจของมิคาอิลมักจะสุดโต่งแบบหัวชนฝาแต่ก็เป็นแนวคิดแบบนอกกรอบ ซึ่งกลายเป็นก้าวสำคัญสำหรับสาขา (คณิตศาสตร์) ที่มีความท้าทายยิ่งนี้” บูร์กวิยงกล่าว

โกรมอฟเกิดเมื่อปี 2486 ที่อดีตสหภาพโซเวียต แล้วได้อพยพมาเป็นพลเมืองฝรั่งเศสเมื่อปี 2535 ทั้งนี้ได้ศึกษาคณิตศาสตร์ที่อดีตมหาวิทยาลัยเลนินกราด (Leningrad University) หรือมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (St Petersburg University) ในปัจจุบัน และสอนอยู่ที่นั่น จนกระทั่งย้ายไปสหรัฐฯ เมื่อปี 2517 แล้วได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก จากนั้นในปี 2524 เข้าได้เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยปารีส VI (Paris VI University) ประเทศฝรั่งเศส และ 1 ปีหลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปสอนที่สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

อย่างไรก็ดี หลายคนอาจถือว่ารางวัลอาเบลไพรซ์ คือรางวัลโนเบลสำหรับคณิตศาสตร์ แม้ทางสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์แห่งนอร์เวย์ (Norwegian Academy of Science and Letters) หน่วยงานที่มอบรางวัลนี้ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนัก แต่ก็เป็นความเข้าใจผิดที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีการมอบรางวัลนี้ครั้งแรกในปี 2545 เพื่อระลึกถึงโอกาสครบรอบ 200 ปีแห่งชาตกาลของ นีลส์ เฮนริค อาเบล (Niels Henrik Abel) นักคณิตศาสตร์ชาวนอร์เวย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่เสียชีวิตลงขณะมีอายุได้เพียง 26 ปี

อีกทั้ง นับแต่มีการมอบรางวัลอาเบลไพรซ์มาได้ 6 ปี โกรมอฟซึ่งได้รับรางวัลระดับนานาชาติมากมาย ถือเป็นนักคณิตศาสตร์สัญชาติฝรั่งเศสคนที่ 3 ที่ได้รับรางวัลนี้ โดยเขาจะได้รับพระราชทานเงินรางวัลมูลค่า 6 ล้านโครน (ประมาณ 33 ล้านบาท) จากกษัตริย์ฮารัลด์ (Harald) แห่งนอร์เวย์ ในวันฉลองรางวัล 19 พ.ค.52 นี้

จากผู้จัดการออนไลน์

ซีอีโอกูเกิลชี้ หนังสือพิมพ์ยังขายโฆษณาได้

ท่ามกลางวิกฤติขาลงของเม็ดเงินโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ ซีอีโอมือทองของกูเกิลแสดงวิสัยทัศน์ต่อวงการหนังสือพิมพ์สหรัฐฯ ว่ายังเห็นโอกาสทำเงินจากการโฆษณาในธุรกิจหนังสือพิมพ์ แต่จะต้องหาทางพลิกแพลงเพื่อจับกลุ่มตลาดไว้ให้ได้ แถมบอกว่าเว็บไซต์มากมายตั้งแต่เว็บไซต์สุขภาพ ไปจนถึงสารานุกรมออนไลน์อย่างวิกิพีเดีย (Wikipedia) ซึ่งเปิดให้ผู้อ่านสามารถเรียบเรียง เผยแพร่ และแก้ไขเรื่องราวในสารานุกรมได้อย่างเสรี ล้วนสามารถทำเงินจากการโฆษณาได้ทั้งสิ้น แม้จะอยู่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองก็ตาม

ในส่วนของธุรกิจหนังสือพิมพ์ อิริก ชมิดท์ (Eric Schmidt) ซีอีโอกูเกิลนั้นไม่ได้ระบุว่าจะต้องพลิกแพลงแบบใด แต่จุดประกายให้สำนักพิมพ์พุ่งความสนใจที่การประยุกต์เทคโนโลยีเคลื่อนที่ และพัฒนารูปแบบในการนำเสนอข่าวสารแบบใหม่ให้มากขึ้น
ชมิดท์เชื่อว่า หนังสือพิมพ์จะต้องแก้ไขจุดอ่อนที่มีอยู่จึงจะสามารถเลี้ยงตัวเองด้วยเงินโฆษณาได้ อาจจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้การรับข่าวจากเว็บไซต์ข่าวมีความกระชับและรวดเร็ว บนโจทย์ว่าเทคโนโลยีการอ่านข่าวบนอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือ จะต้องสร้างความน่าพึงพอใจเหมือนการอ่านจากเล่มนิตยสารและกระดาษหนังสือพิมพ์
ชมิดท์ให้ความเห็นว่า ช่องทางรายได้การเก็บค่าบริการจากสมาชิกหนังสือพิมพ์ยังสามารถอยู่ได้ เช่นเดียวกับการลดต้นทุนสำนักพิมพ์ด้วยการว่าจ้างผู้สื่อข่าวแบบอิสระ (จ่ายเงินตามจำนวนข่าว) แต่รายได้หลักจะยังคงต้องมาจากโฆษณา ซึ่งเป็นแหล่งรายได้กว่า 98 เปอร์เซ็นต์ของกูเกิลเช่นกัน
ชมิดท์ถ่ายทอดวิสัยทัศน์เหล่านี้ในงานประชุมประจำปีของสมาคมผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์อเมริกา (Newspaper Association of America) ซึ่งบางส่วนทนวิกฤติไม่ไหวจนต้องหาทางเปิดตลาดโฆษณาออนไลน์อย่างจริงจังด้วยการเปิดให้อ่านข่าวได้ฟรีผ่านทางออนไลน์

จากผู้จัดการออนไลน์

PSP 2 อาจมาก่อนปลายปี2009

แหล่ง ข่าวรายงานข่าวลือถึงเรื่อง PSP 2 โดยระบุว่าจากข่าววงในซึ่งขณะนี้เครื่องอยู่ระหว่างการพัฒนานั้นจะมีโอกาส ได้ยลโฉมกันก่อนถึงวันคริสต์มาสปีนี้ และมีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกับ iPhone ของทาง Apple โดยจะมีจอแบบ touchscreen ขนาดใหญ่และเมื่อเลื่อนสไลท์จอก็จะเผยถึงปุ่มต่างรวมถึง D-pads ที่สำคัญคือคราวนี้มี analogue controls 2 อันแล้ว
เครื่องใหม่นี้จะมีทั้งเกมสำหรับชาว hardcore gamer ซึ่งเป็นเกมมีอยู่ในคอนโซลรวมถึงเกมแบบแคชชวล นอกจากนี้ยังมีเกมให้บริการโหลดทาง PlayStation Store คล้ายกับ App Store ของทาง Apple
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันใดๆจากทาง Sony ทั้งสิ้น
psp2-concept2
ที่มา : Gconsole

นักอวกาศนาซ่าเตรียมใช้ทวิตเตอร์กระจายข่าว

หลังจากได้รับความนิยมมากมายจากการใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) กระจายข่าวความเคลื่อนไหวของยานสำรวจดาวอังคาร Mars Phoenix Lander ล่าสุดนักบินอวกาศนาซ่าเตรียมใช้บริการบล็อกสั้นส่งข้อความถึงชาวไอทีอีกครั้ง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่เบื้องหลังการฝึกซ้อมก่อนการเริ่มต้นภารกิจใหม่ในวันที่ 12 พฤษภาคมนี้

สำนักงานอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯประกาศชัดเจนว่า นักอวกาศนามไมค์ มาสสิมิโน (Mike Massimino) จะใช้ทวิตเตอร์ด้วยชื่อ @Astro_Mike เพื่อส่งบล็อกสั้นความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร บอกเล่าความเป็นไปของการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มภารกิจปล่อยกระสวย Atlantis เพื่อซ่อมบำรุงกล้องโทรทัศน์อวกาศ Hubble Space Telescope ให้ผู้ติดตามหรือ followers ได้รับรู้แบบเรียลไทม์

อย่างไรก็ตาม นาซ่าไม่ได้บอกว่าไมค์นั้นจะส่งข้อความทวิตเตอร์ จากห้วงอวกาศหรือไม่ โดยไมค์รับหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ และนักเดินอวกาศในภารกิจที่จะเกิดขึ้นวันที่ 12 พฤษภาคมนี้

การใช้ทวิตเตอร์กระจายข่าวความเคลื่อนไหวของภารกิจอวกาศฝีมือนาซ่านั้น เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่เป็นการส่งข้อความจากเวโรนิกา แมคเกรเกอร์ (Veronica Mcgregor) หนึ่งในสมาชิกของหน่วยงานนาซ่า Jet Propulsion Laboratory (JPL) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบยาน Mars Phoenix Lander ไม่ได้ส่งมาจากนักบินอวกาศดาวอังคาร โดยกระจายข่าวที่ twitter.com/MarsPhoenix

การส่งข้อความทวิตเตอร์ในครั้งนั้นมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ติดตามมากกว่า 38,000 คน โดยภารกิจดังกล่าวเสร็จสิ้นไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ทวิตเตอร์ถือเป็นหนึ่งในบริษัทเกิดใหม่ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในซิลิกอนวัลเลย์ บริการบล็อกสั้นหรือไมโครบล็อกกิ้งที่ทวิตเตอร์ให้บริการคือการเขียนบล็อกเป็นข้อความสั้นความยาวไม่เกิน 140

ตัวอักษรเพื่อบอกเพื่อนสมาชิกว่ากำลังทำอะไรอยู่ในขณะนั้น เช่น “กำลังกินข้าวอยู่” หรือ “อ่านหนังสือพิมพ์อยู่” ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลให้เพื่อนในกลุ่มหรือสมาชิก Twitter ทั้งโลกก็ได้ผ่านทางเ้ว็บไซต์ www.twitter.com หรือแจ้งสถานะผ่านโปรแกรมแชตอย่าง Google Talk ก็ได้ รวมถึงการส่งข้อความบอกเล่าความเป็นไปในขณะนั้นผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) ได้ด้วย

จากผู้จัดการ Online

ล่าสุด มีข่าวลือว่าทวิตเตอร์กำลังถูกกูเกิลเจรจาขอซื้อบริษัท ซึ่งผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ไม่ได้บอกว่าจริงหรือไม่ แบ่งรับแบ่งสู้ว่าต้องการพัฒนาบริษัทด้วยฝีมือตัวเองก่อน