อีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ไป โลกจะได้รู้จักกับเสิร์ชเอ็นจิ้นตัวใหม่ ซึ่งทำงานด้วยซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการคำนวณเป็นเลิศชื่อว่า Wolfram Alpha โดย Stephen Wolfram ผู้พัฒนาเรียกมันว่าเป็น “Computational Knowledge engine” และไม่ว่าจะเรียกกันอย่างไรก็ตาม Wolfram Alpha ไม่ใช่เสิร์ชเอ็นจิ้นแบบ Google ที่พยายามค้นหาหน้าเว็บที่คาดว่าจะมีคำตอบให้กับผู้ใช้ แต่มันจะพยายามค้นหาคำตอบให้กับสิ่งที่คุณถามโดยตรง
Danny Sullivan ผู้เชี่ยวชาญเสิร์ชเอ็นจิ้นเรียกระบบค้นหาดังกล่าวว่า เครื่องมือค้นหาข้อเท็จจริง (fact search engine) หรือ เครื่องมือค้นหาคำตอบ (answer search engine) ซึ่งเป็นคำที่เขาเคยใช้เรียกบริการที่สามารถค้นหาคำตอบโดยตรงให้กับผู้ใช้ ได้ แทนที่จะพาไปยังเว็บเพจต่างๆ ที่อาจจะพบคำตอบให้เฉยๆ ดังเช่น เครื่องมือค้นหายอดฮิตอย่าง Google
ในงาน Webinar ที่จัดให้มีขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Wolfram ได้แสดงความสามารถอันน่าทึ่งของเสิร์ชตัวนี้ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยคำตอบที่มันค้นหามาได้จะเกิดจากการนำข้อมูลที่ค้นพบมากมายบนเน็ตมาแสดงผล ลัพธ์ด้วยเว็บเพียงหน้าเดียว ซึ่งประกอบด้วยสถิติตัวเลข และกราฟ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวข้องล่าสุด ตัวอย่างสิ่งที่คุณสามารถถาม Wolfram Alpha ให้ช่วยค้นหาคำตอบได้ ก็จะมีตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่าง ลักษณะยีนของมนุษย์ น้ำหนักของโมเลกุลแคฟเฟอีน จำนวนของผู้ที่มีชื่อ Andrew ที่เกิดในปีที่เราระบุ หรือแม้แต่จำนวนของปลาที่จับได้ในฝรั่งเศษ สถิติของหุ้นไมโครซอฟท์ในช่วงทีผ่านมา ความสูงของภูเขาเอฟเวอเรสต์เปรียบเทียบกับความยาวของสะพานโกลเด้นเกต อย่างไรก็ตาม บริการWolfram Alpha กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการเปิดให้บริการในเดือนนี้ สำหรับผู้สนใจคงต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป