ไมโครซอฟท์ ยักษ์ใหญ่ไอทีสัญชาติอเมริกัน ประกาศซื้อกิจการบริษัทเลือดใหม่นามคาลิสต้าเทคโนโลยีส์ (Calista Technologies) พร้อมๆกับการขยายความร่วมมือกับบริษัทซิทริกซ์ซิสเต็มส์ (Citrix Systems) สิ่งที่เกิดขึ้นถูกมองว่า ไมโครซอฟท์กำลังพยายามรุกตลาดซอฟต์แวร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์เสมือนหรือเวอร์ ชวลไลเซชันที่กำลังรุ่งเรืองสดใส ซึ่ง VMware ในฐานะผู้นำตลาดย่อมกลายเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งโดยปริยาย
นาตาลี นัมเบิร์ต นักวิเคราะห์ของฟอร์เรสเตอร์รีเสิร์ช คือหนึ่งในผู้ที่อ่านเกมความเคลื่อนไหวของไมโครซอฟท์ว่ากำลังพยายามเข้าสู่ ตลาดเวอร์ชวลไลเซชัน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์เพียงหนึ่งตัวสามารถทำงานเป็น คอมพิวเตอร์เสมือนหลายๆเครื่องได้ ผลที่เกิดขึ้นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆจะสามารถรันซอฟต์แวร์ได้หลายชนิด หลายระบบปฏิบัติการ โดยที่เจ้าของไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่หลายเครื่อง
ที่ผ่าน มา ไมโครซอฟท์ไม่เปิดเผยจำนวนเงินที่ซื้อบริษัทคาลิสต้า ระบุเพียงว่าเป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุม คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์เวอร์ชวลไลเซชันได้จากทางไกล ขณะที่ซิทริกซ์เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันนาม Hyper-V ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เขียนโปรแกรมที่ซิทริกซ์ร่วมมือกับไมโครซอฟท์เพื่อให้ผู้ ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Server 2008 สามารถรองรับผลิตภัณฑ์ XenServer ของซิทริกซ์ได้
” ความเคลื่อนไหวของไมโครซอฟท์แปลว่ากำลังให้ความสนใจธุรกิจเวอร์ชวลไลเซชัน อย่างจริงจัง ซึ่งเมื่อคิดถึงตลาดเวอร์ชวลไลเซชันก็ต้องคิดถึง VMware เชื่อว่า VMware คืออุปสรรค์ที่ไมโครซอฟท์มองว่าต้องข้ามไป”
ไม่ใช่เพียงไมโครซอฟท์ แต่ออราเคิลและซันล้วนมีท่าทีตีตื้น VMware ทั้งสิ้น จุดนี้นักวิเคราะห์เชื่อว่าสงครามเวอร์ชวลไลเซชันนั้นเพิ่งเริ่มต้น และทุกบริษัทจะมุ่งพัฒนาให้เทคโนโลยีของตัวเองสามารถใช้งานได้กับผลิตภัณฑ์ จากทุกค่าย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยไปจนถึงไมโครชิป
หลัง จาก VMware ถูกอีเอ็มซีซื้อหุ้นส่วนใหญ่ไป มูลค่าหุ้นของบริษัทก็พุ่งขึ้นเกือบสามเท่าตัวเมื่อเทียบจากมูลค่าไอพีโอที่ เปิดตลาดครั้งแรก สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนมีท่าทีเชื่อมั่น VMware มากแม้ในสถานการณ์แข่งขันที่ดุเดือดเช่นนี้